วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

CPU multi-core

                                       






CPU  multi-core 

     มีลักษณะ....
       
          แต่ก่อน CPU เป็นลักษณะของชิป(chip) ที่ภายในมีหน่วยประมวลผลอยู่หน่วยเดียวต่อมาความต้องการความสามารถในการประมวลผลมีมากขึ้นก็เริ่มมีการพัฒนาความเร็วของซีพียู (CPU) ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆให้พอต่อความต้องการ เมื่อความเร็วนั้นพัฒนาขึ้นมากจนยากที่จะทำต่อไปได้จึงมีการนำ CPU มาใช้เทคนิคให้สามารถประมวลผลได้มากขึ้น เราเรียกว่าไฮเปอร์เทรดดิ้ง(Hyper-Threading) การทำงานแบบไฮเปอร์เทรดดิ้ง ยังมีข้อเสียหลายประการและเทคโนโลยีซีพียู จึงพัฒนามาสู่ยุคของซีพียูแบบหลายหน่วยประมวลผลหรือที่เรียกว่า (core) ซึ่งทำให้การพัฒนา
สมรรถนของซีพียูเป็นไปอย่างก้าวกระโดด




           
           ข้อดี

       1.  การดีไซน์ซีพียูแบบมัลติคอร์ทำให้แคชของแต่ละคอร์ออกแบบมาให้แคบอยู่ใกล้กันกับซีพียูทำให้สัญญาณที่สิ่งระว่างแคชไปที่ซีพียูนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
      2.  ในแต่ละที่ประกอบไปด้วยซีพียูและแคชนั้นอยู่ใกล้กันมากดังนั้นจึงมีการเพิ่มเทคโนโลยีที่ชื่อว่า  Cache coherency ซึ่งเป็นการทำให้ข้อมูลในแต่ละแคชนั้นเข้าถึงกันได้ สามารถแบ่งงานกันโหลดได้ระหว่างหน่วยประมวลผล
      3.  เนื่องจากมัลติคอร์ใช้พื้นที่ของแผงวงจรน้อยกว่า  ทำให้มีสมรรถนะสูงกว่า ขณะที่อัตราการใช้พลังงานยังคงอยู่ในระดับเดียวกันเมื่อเทียบกับซีพียูแบบเดิม  นอกจากนั้น ระบบจัดการความร้อนที่เล็กลงทำให้ใช้ไฟน้อยลงด้วย  จึงช่วยประหยัดพลังงาน แต่ความร้อนกลับน้อยลง เพราะมัลติคอร์ ไม่ได้ใช้งานทุกคอร์ตลอดเวลา
     4.  ราคาลดต่ำลงมาเรื่อยๆ  จนในตอนนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใหม่ๆก็เริ่มทยอยกันใช้ซีพียูแบบดูอัลคอร์กันหมดแล้ว


      ข้อแตกต่าง 
     
     Intel ได้ทำการเปิดตัว CPU รุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร เพิ่มมาอีก 2 รุ่นก็คือ i3, i5   ซึ่งทางอินเทลได้ปรับปรุงในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นจากซีพียูรุ่นก่อนๆ ให้เพิ่มมากขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้นกว่าเดิม แต่ปัญหาสำคัญก็คือ CPU รุ่นนี้จะต้องใช้ Mainboard Socket ใหม่ คือแบบ 1156 (ตัวก่อนหน้านี้ใช้ Socket 775 ) ทำให้คนที่ต้องการจะอัพเกรดคอมพิวเตอร์ของตนนั้น ต้องเผื่อในส่วนของราคาเมนบอร์ดตัวใหม่ด้วย

1. ระบบ Hyper-Threading สิ่งที่่ CPU ตระกูลนี้นำกลับเข้ามาใช้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ระบบ Hyper-Threading (ระบบการจำลองชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน) ซึ่ง intel เคยนำมาใช้ตอน Pentium 4 โดย

i7 จะมี 4 Core 8 Thread
i5 จะมี 4 Core 4 Thread และ 2 Core 4 Thread
i3 จะมี 2 Core 4 Thread

2. Cache L3 ระบบ Cache L3 เป็นระบบที่ทาง AMD นำมาใช้ก่อนในซีพียูรุ่นก่อนแล้ว ซึ่ง intel เพิ่งจะนำเข้ามาใช้กับซีพียูตระกูลนี้

i7 จะมี Cache L3   8 MB
i5 จะมี Cache L3   8 MB และ 4 MB
i3 จะมี Cache L3   4 MB
        

ข้อสังเกต

     ทำงานบนพื้นฐานเดียวกัน คือ CPU 2Core/4Thread แต่จะแตกต่างกันตรงที่ CPU i5 จะมี Turbo boost Technology ด้วย ซึ่ง Turbo boost   มันจะเร่งความเร็วสูงสุดของ CPU ให้สูงขึ้นเมื่อใช้งาน Singel Thread  (เล่นเกม , ดูหนัง HI-DEF ) ซึ่งจะช่วยให้งานดีขึ้น ส่วน i7 ก็จะเป็น 4Core/8Thread มี TBT เหมือนกัน

     ข้อเสีย 1    การเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลให้สามารถบรรจุอยู่ในซีพียูเพียงแค่ตัวเดียวได้นั้นต้องการความละเอียดสูงเป็นหน่วยนาโนเลยทีเดียวนั่นคือปัญห
าของความยากในการผลิตทำให้ซีพียูนั้นมีราคาแพง
                  2.  Application  ที่จะทำงานร่วมกับมัลติคอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องรองรับการทำงานแบบมัลติคอร์ด้วย
                  3.การทำงานบางอย่างซิงเกิลคอร์ก็ประมวลได้เรวกว่าดูอัลคอร์อยู่
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น